RAID ทำความรู้จักและวิธีการทำ

สรุปเข้าใจง่ายๆ การทำ RAID อ่านว่า "เหรด" มาจากคำว่า Redundant Array of Inexpensive Disk ก็คือ การนำเอาฮาร์ดดิสก์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมาทำงานร่วมกันเสมือนเป็นตัวเดียวกัน เพื่อบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และลดความเสี่ยงโอกาสที่จะสูญเสียข้อมูลในกรณีที่เกิดความผิดพลาดของฮาร์ดแวร์ ซึ่งการทำ RAID นั้นก็มีหลายรูปแบบ มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

RAID 0  คือการใช้ฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวขึ้นไปมาต่อแล้วทำให้เหมือนเป็นตัวเดียวกัน และระบบปฏิบัติการจะมองเห็นเป็นฮาร์ดดิสก์ตัวเดียว RAID 0 จะใช้การ Striping คือการแบ่งข้อมูลออกเป้นส่วนๆ หรือเป็นบล๊อคๆ แล้วก็นำไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวนั่นเอง ซึ่งข้อมูลส่วนที่ 1, 3, 5, 7 จะบันทึกลงฮาร์ดดิสก์ตัวหนึ่ง แต่ข้อมูลที่ 2, 4, 6, 8

ถูกเก็บไว้ฮาร์ดดิสก์อีกตัวหนึ่ง  การเขียนและการอ่านข้อมูล 8 ส่วนที่ว่ามาเนี่ยจะใช้เวลาเร็วกว่าการอ่านและเขียนบนฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว เพราะว่าใช้หัวอ่านฮาร์ดดิสก์หลายตัวไง แต่ RAID 0 มันเหมาะกับการเก็บข้อมูลแบบที่ต้องการประสิทธิภาพด้านความเร็ว แต่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูลซักเท่าไหร่ มีข้อดีคือเขียน-อ่านได้รวดเร็วขึ้นตามจำนวนฮาร์ดดิสก์ที่ต่อเข้าไป เพราะมันจะแบ่งข้อมูลเป็นชุดๆ แล้วเอาไปเก็บตามฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวพร้อมๆ กัน  แต่ข้อเสียคือจะไม่มีการสำรองข้อมูลให้ จึงเสี่ยงข้อมูลสูญหาย ถ้าฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่งเดี้ยง



RAID 1 หรืออีกชื่อที่จะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ Disk Mirroring ก็ตรงตัวเลยครับ ก็คือใช้ฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวเก็บข้อมูลไว้ 2 ชุดในเวลาเดียวกัน ให้นึกถึงเวลาที่เราส่องกระจกน่ะครับ  จะเหมือนมีเราอีกคนอยู่ในกระจก วิธีการของ RAID รูปแบบนี้ก็ทำเหมือนกัน คือเวลาเราบันทึกข้อมูลปั๊บ ระบบก็จะทำสำเนาไว้ให้ด้วยนั่นเอง ซึ่งทำให้จุดเด่นของ RAID 1 ก็คือความปลอดภัยของข้อมูล ไม่เน้นเรื่องประสิทธิภาพและความเร็วเหมือนอย่าง RAID 0 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลของ RAID 1 จะแย่นะครับ ก็ยังคงบันทึกข้อมูลได้รวดเร็วอยู่ แต่อาจไม่เท่าในแบบแรกเท่านั้นเอง





RAID 5 เป็นอีกรูปแบบที่นิยมใช้กัน มีเทคนิคที่ซับซ้อนขึ้น คือมีการใช้ฮาร์ดดิสก์ในจำนวนหลายตัวมากขึ้น  ที่นิยมก็ 4 ตัว แบ่งข้อมูลเป็นส่วนๆ เขียนลงไปในฮาร์ดดิสก์แต่ละตัว และมีการสร้างสิ่งที่เรียกว่า Parity คอยเช็กว่าข้อมูลที่แบ่งไปนั้นเขียนไว้ตรงไหน และยังใช้เขาบอกว่าข้อดีก็คือจะมีความสามารถในการอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว  แต่จะเหมาะสำหรับใช้ในงานที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ  และแก้ปัญหาคอขวดโดยการกระจาย parity ไปเก็บในฮาร์ดดิสก์แต่ละตัว โดยปะปนไปกับข้อมูลปกติ ซึ่งตรงนี้เองที่จะช่วยลดปัญหาคอขวด มีเทคโนโลยี Hot Swap คือเราสามารถทำการเปลี่ยน harddisk ในกรณีที่เกิดปัญหาได้ในขณะที่ระบบยังทำงานอยู่ เหมาะสำหรับงาน Server ต่างๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่องอีกด้วย



การทำ RAID ยังมีอีกหลายรูปแบบ เช่น  RIAD 10  ซึ่งก็ไม่พูดถึงแล้วกันนะครับ เพราะไม่ได้เข้าใจลึกซึ้งมาก และไม่ค่อยได้ใช้ด้วย  แต่ถ้าใครสนใจก็ลองค้นคว้าดู

มาลองดูวิธีการทำ RAID 0 แบบง่ายๆกัน
1) สิ่งที่ต้องมีในการทำ Raid คือฮาร์ดดิสก์ 3 ลูก ที่ต้องใช้ 3 เพราะว่าเราจะรวม 2 ลูกเข้าด้วยกัน
ส่วนอีกลูกใช้เป็นตัวปฏิบัติการทำ Raid ควรใช้ฮาร์ดดิสก์ยี่ห้อเดียวกัน ความจุเท่ากันนะเพราะว่า
ถ้าความจุไม่เท่ากันมันจะอิงฮาร์ดดิสก์ตัวที่มีความจุน้อยกว่าทำให้เราเสียพื้นที่จากฮาร์ดดิสก์ตัว
ที่มากกว่า
2) ระบบปฏิบัติการ Windows   ลืมบอกไปว่าการที่จะทำ Raid ได้นั้นเมนบอร์ดของเพื่อนๆ
จะต้องรองรับการทำ Raid ด้วยนะ สังเกตได้จากไดร์เวอร์ของเมนบอร์ดมันจะมีแถมมาให้
3) สมมติว่าตอนนี้เราต่อฮาร์ดดิสก์เข้ากะคอมเรียบร้อยแล้วนะ แล้วก็เปิดระบบปฏิบัติการวินโดวส์
เรียบร้อยแล้ว ให้เข้าคลิกที่ Start > Setting > Control Panel >Administrative Tools >
จากนั้นดับเบิ้ลคลิกที่ Computer Management ดูตรงหัวข้อ Storage  แล้วเลือกที่
Disk Management เราจะมองเห็นฮาร์ดดิสก์ทั้ง 3 ตัว สองตัวแรกคือ Disk 0 กะ Disk 1 ซึ่ง
ฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวที่ว่านี่แหละที่เราจะทำเป็น Raid 0
4) ให้สังเกตดูว่าฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวที่ว่านี้มีการแบ่งพาทิชั่นไว้รึป่าวถ้ามีให้ลบพาทิชั่นออกซะก่อน
โดยการคลิกขวาบนพื้นที่ของ Disk 0 กะ Disk 1 แล้วเลือก Delete Partition... ถ้ามีข้อมูล
ก็ควรจะสำรองข้อมูลไว้ก่อนน๊า
5) ต่อไปเราจะทำการแปลงเบสิกดิสก์ไปเป็นไดนามิกดิสก์ โดยการคลิกขวาที่ Disk 0 แล้วเลือก
Convert to Dynamic Disk... จากนั้นเลือกฮาร์ดดิสก์อีกตัวด้วย คือ Disk 1 จากนั้นก็คลิก
OK ทีนี้ฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวนี้ก็จะกลายเป็นไดนามิกดิสก์
6) ต่อไปให้คลิกขวาบนพื้นที่ของ Disk 0  แล้วเลือก New Volume... แล้วมันจะมีวิซาร์ดขึ้นมา
ให้เลือก Next ผ่านไป ต่อมาให้เลือก Striped คลิกปุ่ม Next จากนั้นให้เลือก Disk1ในช่อง
Available : แล้วก็คลิกปุ่ม Add แล้วทีนี้ Disk1 มันก็จะย้ายมาอยู่ทางด้านขวามือในช่อง
Selected: แล้วคลิกปุ่ม Next
7) ถัดมาที่ช่อง Assign the following drive letter ให้เลือกตัวอักขระที่จะระบุตำแหน่งไดร์ฟ
แล้วก็คลิก Next เลย อันที่จริงเลือกอะไรก็ได้นะ เพราะจะเปลี่ยนทีหลังได้  จากนั้น
เลือกหัวข้อ Format this partition with the following settings: ที่ช่อง File system:
จะมีระบบไฟล์ NTFS ให้ใช้อย่างเดียว ส่วนในช่องของ Allocation unit size: ให้คงค่าเดิม
คือ Default เอาไว้ และที่ช่อง Volume lable: ก็ตั้งชื่อตามต้องการ
8) ต่อมาที่หัวข้อ Perform a quick format ไม่ต้องเลือกนะ เพราะเราจะใช้การฟอร์แมต
แบบปกติ จากนั้นคลิกปุ่ม Next ก็จะมีสรุปรายละเอียดให้เห็นจากนั้นก็คลิกปุ่ม Finish
9) ทีนี้ก็รอจนกว่าจะเสร็จ เราก็จะได้ไดร์ฟที่มีขนาดความจุตามจำนวนของฮาร์ดดิสก์เรา ซึ่งของแกนะ
ก็คือ 80 GB หรือถ้าไม่แน่ใจก็ใช้วิธีตรวจสอบปกติแบบว่าคลิกขว่าเลือก Properties
10) เสร็จแล้ว  RAID0  ทีนี้ก็เอาไปใช้งานได้ตามปกติ

มาดูวิธีทำ RAID 1

1) การนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็น RAID1 ควรใช้ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุเท่ากันทั้ง 2 ตัว ถ้าใช้ความจุต่างกัน
ระบบจะถือเอาฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุน้อยเป็นตัวตั้งและควรเป็นฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกันยี่ห้อเดียวกันจะดีมาก
2) ข้อสังเกตุ ถ้าฮาร์ดดิสก์แบบ SATA เมื่อนำฮาร์ดดิสก์แบบ EIDE ทั้งสองตัวติดตั้งเพิ่มเข้าไป Disk Management  จะมองเห็นฮาร์ดดิสก์แบบ EIDE เป็น Disk 0 กับ Disk 1 ส่วนฮาร์ดดิสก์ SATA จะกลายเป็น Disk 2  ถ้าเราใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ EIDE ก็จะเป็น Disk 0 ส่วนถ้านำฮาร์ดดิสก์มาติดอีกตัวก็จะเป็น Disk 1 กับ Disk 2 แทน
3) นำฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการทำ RAID มาต่อพ่วงกัน
คลิกที่ Start > Setting > Control Panel >Administrative Tools >
จากนั้นดับเบิ้ลคลิกที่ Computer Management ดูตรงหัวข้อ Storege นะ แล้วเลือกที่  Disk Management
4) ต่อไปเราจะทำการแปลงเบสิกดิสก์ไปเป็นไดนามิกดิสก์ โดยการคลิกขวาที่ Disk 0 แล้วเลือก
New Volume... จะมีวิซาร์ดขึ้นมาให้เราคลิก Next ผ่านไป ต่อมาให้คลิกเลือที่ Mirrored
จากนั้นถัดมาที่ช่อง Assign the following drive letter ให้เลือกตัวอักขระที่จะระบุตำแหน่งไดร์ฟ
แล้วก็คลิก Next เลย อันที่จริงเลือกอะไรก็ได้นะ เพราะมานจะเปลี่ยนทีหลังได้  จากนั้น
เลือกหัวข้อ Format this partition with the following settings: ที่ช่อง File system:
จะมีระบบไฟล์ NTFS ให้ใช้อย่างเดียว ส่วนในช่องของ Allocation unit size: ให้คงค่าเดิม
คือ Default เอาไว้ และที่ช่อง Volume lable: ก็ตั้งชื่อตามต้องการ
5) ต่อมาที่หัวข้อ Perform a quick format ไม่ต้องเลือกนะ เพราะเราจะใช้การฟอร์แมต
แบบปกติ จากนั้นคลิกปุ่ม Next ก็จะมีสรุปรายละเอียดให้เห็นจากนั้นก็คลิกปุ่ม Finish
ทีนี้ก็รอจนกว่าจะเสร็จ เราก็จะได้ไดร์ฟที่มีขนาดความจุตามจำนวนของฮาร์ดดิสก์เรา
6) เมื่อเสร็จแล้วจะมีแถบสีแดงเลือดหมูแสดงอยู่ นั้นก็แสดงว่าได้ฮาร์ดดิสก์ที่เป็น RAID1 แล้วววววว !!
เมื่อเสร็จแล้วก็ทำการ Restart เครื่อง แล้วก็สามารถนำฮาร์ดดิสก์ดังกล่าวมาใช้งานได้



Share this

Related Posts

Previous
Next Post »